จุดจบของดาว

  การจบสิ้นชีวิตของดาวขึ้นอยู่กับมวลเริ่มต้นที่ก่อกำเนิดดาวขึ้นมา ดาวที่มีมวลมากมีช่วงชีวิตสั้นกว่าดาวที่มวลน้อย เนื่องจากปฏิกิริยาฟิวชันที่รุนแรงเผาไหม้เชื้อเพลิงภายในดาวอย่างรวดเร็ว นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทจุดจบของดาวฤกษ์ตามที่แสดงในภาพที่ 3 ดังนี้ดาวที่มีมวลตั้งต้นน้อยกว่า 2 เท่าของดวงอาทิตย์ พ้นลำดับหลักกลายเป็นดาวยักษ์แดง แล้วจบชีวิตเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์และดาวแคระขาวคาร์บอน 
ดาวที่มีมวลตั้งต้น 2 – 8 เท่าของดวงอาทิตย์ พ้นลำดับหลักกลายเป็นดาวยักษ์แดง แล้วจบชีวิตเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์และดาวแคระขาวออกซิเจน 
ดาวที่มีมวลตั้งต้นมากกว่า 8 เท่า แต่น้อยกว่า 18 เท่าของดวงอาทิตย์ พ้นลำดับหลักกลายเป็นดาวยักษ์ใหญ่สีแดง แล้วจบชีวิตเป็นซูเปอร์โนวา และดาวนิวตรอน 
ดาวที่มีมวลตั้งต้นมากกว่า 18 เท่า ของดวงอาทิตย์ พ้นลำดับหลักกลายเป็นดาวยักษ์ใหญ่สีแดง แล้วจบชีวิตเป็นซูเปอร์โนวา และหลุมดำ


   

ดาวฤกษ์มรณะ

ดาวมรณะ หรือ เดธสตาร์เป็นสถานีรบอวกาศขนาดยักษ์ในนิยายและภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส ตลอดทั้งเรื่องชุดนี้มีการสร้างสถานีอวกาศนี้ออกมาทั้งหมดสองรุ่น ทั้งสองรุ่นมีขนาดใหญ่มาก มีรัศมีเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และมีอาวุธทรงพลังจำนวนมาก โดยดาวมรณะดวงแรกปรากฏในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ ส่วนดาวมรณะดวงที่สองซึ่งอยู่ในสถานะก่อสร้าง ปรากฏในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได โมเดลของจริงของดาวมรณะมีขนาดประมาณ 76 เซนติเมตรตอนนี้ถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑสถานนิยายวิทยาศาสตร์ในซีแอตเติล

ดาวมรณะถูกสร้างขึ้นจากคำสั่งตรงของจักรพรรดิ แต่แนวคิดหลักของสถานีรบอวกาศเช่นนี้มีตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามโคลนเสียอีก จุดประสงค์หลักอันหนึ่งในการสร้างดาวมรณะนั้นก็เพื่อให้จักรพรรดิพัลพาทีนสามารถปกครองจักรวรรดิกาแลกติกได้โดยการสร้างความกลัวที่เป็นรูปธรรมขึ้น ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งบัญชาการดาวมรณะจะต้องเป็นขุนนางที่มียศไม่ต่ำกว่าระดับมอฟฟ์

ที่มา https://youtu.be/d26nN3KWCVY

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์

  •   ดาวฤกษ์ทั้งหลายเกิดจากการรวมตัวของเนบิวลาจนกลายเป็น ดาวฤกษ์ก่อนเกิด(protostar) และกลายเป็นดาวฤกษ์ในที่สุด
  • ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย แสงสว่างไม่มาก ใช้อัตราเชื้อเพลิงน้อย จึงมีชีวิตยาว และจบชีวิตด้วยการไม่ระเบิด
  • ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ แสงสว่างมาก จะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราที่สูง มีช่วงชีวิตสั้นกว่า และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา(supernova)


ภาพ: การก่อกำเนิดและการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีมวลต่างกัน 

(ที่มา: http://www.nasa.gov/images/content/49888main_stellar3.jpg)

ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์ คือ ก้อนแก๊สร้อนขนาดใหญ่ มีธาตุไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ถึง99% รองลงมาคือฮีเลียมรวมตัวอยู่ในภาวะสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงที่มีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางกับแก็สในทิศทางตรงข้าม ดาวฤกษ์ทุกดวงมีสมบัติที่เหมือนกันอยู่ 2 ประการ คือ

1. สามารถสร้างพลังงานได้ด้วยตัวเอง

2. การวิวัฒนาการ

แม้จะมีความเหมือนกัน แต่ดาวฤกษ์ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของ การสร้างธาตุ ขนาดมวล ระยะห่าง ความส่องสว่าง อุณหภูมิผิว ระบบของดาวฤกษ์ องค์ประกอบเคมี และสเปกตรัม